ใครก็ตามที่เคยประสบกับอาการไมเกรนกำเริบสามารถบอกคุณได้เลยว่าพวกเขาจะทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีอาการปวดแบบนั้นอีก เเละถึงแม้ไมเกรนจะเป็นเรื่องธรรมดาเพียงใด เเต่ผู้คนก็ยังมีความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับอาการนี้และผลกระทบที่มีต่อชีวิตของคนที่มีอาการไมเกรน
ในบทความนี้ เราจะมาเล่าถึงสิ่งที่คนเป็นไมเกรนอยากให้คุณรู้
1) ไมเกรน…มากกว่าเเค่อาการปวดหัว
เกือบทุกคนที่ต้องรับมือกับอาการไมเกรนเป็นประจำจะมักถูกทักว่าสิ่งที่พวกเขากำลังประสบอยู่นั้นเป็นเพียง “อาการปวดหัวที่หนัก” แต่อาการปวดไมเกรนไม่ใช่สิ่งที่จะหายไปเมื่อคุณดื่มน้ำและทานยาแก้ปวดหัว
เพราะอาการไมไกรนเกี่ยวข้องกับอาการอื่นๆมากกว่าอาการปวดศีรษะ ซึ่งรวมถึง:
- ปวดหัวตุ๊บๆ
- ปวดร้าวไปทั้งศีรษะ
- ความไวต่อเสียง
- ความไวต่อกลิ่น
- ความไวต่อแสง
- ปัญหาการมองเห็น
- อาการเบื่ออาหาร
- คลื่นไส้และอาเจียน
2) ไมเกรนเป็นเรื่องปกติมากกว่าที่คุณคิด
Dr. Huma Sheikh นักประสาทวิทยาที่ Headaches NYC กล่าวว่า “ไมเกรนพบได้บ่อยกว่าโรคหอบหืดและโรคเบาหวานรวมกัน” เเละจากข้อมูลของ American Migraine Foundation ก็ได้พบว่าผู้คนกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกเป็นไมเกรน
เเต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในปี 2013 หนึ่งฉบับก็มีการพบว่าผู้ป่วยไมเกรนจำนวนมากได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดว่าเป็นไซนัสอักเสบในขั้นต้น ดังนั้น ในบางกรณีจึงทำให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องล่าช้าไปหลายปี
นอกจากนี้ ณ ปัจจุบัน เรายังขาดผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวินิจฉัยและรักษาไมเกรนได้ และเนื่องจากเเพทย์ทุกคนก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทที่ซับซ้อนนี้ได้อย่างถูกต้อง หลายคนเลยอาจต้องใช้ชีวิตยู่กับอาการนี้โดยไม่มีการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ
และในบรรดาผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคไมเกรน พวกเขาก็ประสบกับอาการที่รุนเเรง ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆเเบบเต็มที่ได้
Dr. Pooja Patel นักประสาทวิทยาจาก Baptists Health’s Marcus Neuroscience Institute ได้กล่าวว่า “ในการศึกษาผู้ป่วยไมเกรนในสหรัฐฯ พบว่ามีผู้เข้าร่วมมากกว่าครึ่งรายงานว่าไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ เพราะมีอาการปวดเเบบรุนแรงเเละจำเป็นต้องนอนพักหรือหยุดทำงานเเบบชั่วขณะ”
3) ขณะนี้ ยังไม่มีวิธีรักษาไมเกรน
Dr. Huma Sheikh กล่าวว่า “ไมเกรนเป็นโรคทางระบบประสาททางพันธุกรรมที่ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษา” แต่มีหลายวิธีในการควบคุมอาการและความพิการที่อาจเกิดขึ้นได้
ซึ่งณ ปัจจุบัน หลายคนจัดการสภาพโดยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและใช้ยาตามใบสั่งแพทย์
- Dr. Vernon Williams ได้กล่าวไว้ว่า “ในกรณีที่เล็กน้อยหรือปานกลาง วิถีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การทำสมาธิอย่างมีสติ และการทานอาหารเสริมหรือยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์อาจเพียงพอในการลดอาการที่ประสบ”
เเต่สำหรับผู้ที่เป็นไมเกรนเรื้อรัง การรักษาด้วยใบสั่งยาทั้งแบบป้องกันและยับยั้งอาจมีความจำเป็นเพื่อช่วยจัดการกับความเจ็บปวดและอาการอื่นๆ
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ สิ่งที่ใช้ได้ผลกับคนที่เป็นไมเกรนคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลสำหรับอีกคน ดังนั้นลองร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านอาการปวดหัว ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความซับซ้อนของอาการนี้ เพื่อหาวิธีที่สามารถช่วยคุณได้
4) ไมเกรนอาจทำให้คนๆหนึ่งเจ็บปวดจนต้องเข้า ER ได้
ผู้ที่ประสบกับอาการไมเกรนเป็นประจำสามารถบอกคุณได้ว่าอาการนี้เจ็บปวดเพียงใด
แหล่งศึกษาในปี 2017 ระบุว่าไมเกรนมีอัตราการเข้ารับการตรวจในห้องฉุกเฉิน 1.2 ล้านครั้งต่อปีในสหรัฐอเมริกา
Dr. Medhat Mikhael ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเจ็บปวดและการรักษาไมเกรนที่ Spine Health Center ระบุไว้ว่า “ไมเกรนอาจถึงขั้นเรื้อรังและบางครั้งก็ทำให้ร่างกายอ่อนแอและทุพพลภาพได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเพียงพอ”
ไมเกรนสามารถทำให้คนๆหนึ่งขาดสมาธิ มีอาการนอนไม่หลับ และไม่สามารถโฟกัสหรือวางแผนได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งงานและชีวิตในสังคมของเขา เเละไมเกรนบางรูปแบบก็มีอันตรายถึงขนาดต้องไปพบแพทย์ฉุกเฉิน ตัวอย่างเช่น Hemiplegic Migraine (อาการอ่อนแรงครึ่งซีก) ที่สามารถนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้
5) เกือบทุกอย่างสามารถกระตุ้นอาการไมเกรนได้
สิ่งกระตุ้นไมเกรนทั่วไป ได้แก่ :
- ไฟสว่าง
- เสียงดัง
- กลิ่นแรง
- น้ำตาลในเลือดต่ำ
- อาการขาดน้ำ
- นอนน้อยหรือมากไป
- แรงกดที่ศีรษะโดยตรง
- การออกกำลังกายที่หนักหน่วง
- ระดับความเครียดที่สูงขึ้น
บ่อยครั้ง ต้องมีสิ่งกระตุ้นหลายๆอย่างรวมกันถึงจะทำให้เกิดภาวะไมเกรนได้ ดังนั้น สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังอาจไม่ทำให้เกิดอาการไมเกรนได้เอง แต่เมื่อเสียงดังนี้รวมกับความเครียดสูง แสงจ้า และการนอนหลับไม่ดีก็สามารถสร้างพายุที่สมบูรณ์แบบสำหรับการลุกเป็นไฟได้
อาหารที่สามารถกระตุ้นไมเกรน ได้แก่ :
- แอลกอฮอล์
- สารให้ความหวานเทียม
- ไทรามีน
- คาเฟอีน
- ผงชูรส
- เนื้อสัตว์แปรรูป
- ชีสบ่ม
- อาหารหมักดอง
เเต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โปรดจำไว้ว่าอาหารกระตุ้นไมเกรนนั้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เเละบางคนอาจใช้เวลาหลายปีก่อนที่พวกเขาจะหาอาหารกระตุ้นนั้นได้
6) บางครั้งคุณไม่สามารถป้องกันอาการไมเกรนกำเริบได้
เเม้ว่าการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ และการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆสามารถช่วยคนบางคนในการลดความถี่และความรุนแรงของการโจมตีไมเกรนได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการไมเกรนก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
เพราะมันยังมีปัจจัยอื่นๆมากมายที่ส่งผลต่อการเกิดไมเกรนได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การแพ้อาหาร และแม้กระทั่งปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่นหอมและการสัมผัสเชื้อรา และเนื่องจากตัวกระตุ้นต่างๆอาจระบุได้ยาก จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันการโจมตีของไมเกรนที่เจ็บปวดได้เสมอไป